วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

                                             เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล
การนำเข้า ข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำ เป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด พื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึงและปีที่จัดทำข้อมูล เพื่อประเมินคุณภาพ และคักเลือกข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
                                             
                           หน่วยความจำบนอุปกรณ์แสดงผลภาพ,เสียง,ปริ้นเตอร์
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
          - Keyboard (คีย์บอร์ด)
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
1.Keyboard

          - Mouse (เมาส์)
          Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)
2.Mouse

          - Scanner (สแกนเนอร์)
          สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
3.Scanner

          - Webcam (เว็บแคม)
          เว็บแคมหรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถ เห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
4.Webcam

          - Microphone (ไมโครโฟน)
          ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
5.Microphone

          - Touch screen (ทัชสกรีน)
          ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
6.Touch-Screen

2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
          1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
          2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
          3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
7.CPU

3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บ ข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
          - จอภาพ (Monitor)
8.Monitor

          - อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
9.Projector

          - อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
10.Speaker

          3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
          - เครื่องพิมพ์ (Printer)
11.Printer

          - เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
12.Plotter

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
          หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็น หน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
           โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
13.Rom-Bios

                   4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
           ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
14.Ram

          4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
          สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                   4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
15.Harddisk

                   4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
16.CD-DVD

                   4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบ เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
17.DAT-QIC

                   4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา


18.Flash-Drive
    

                     วิวัฒนาการของจอภาพจนมาสู่เทคโนโลยี LED

       ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนแสดงผลที่เรียกกันว่าจอภาพ ให้มีเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เกิดข้อดีขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นทำให้ภาพที่ออกมาชัดเจนขึ้น ประหยัดพลังงานมาขึ้น หรือแม้แต่ทำให้การมองภาพในมุมต่างๆได้ดีอีกด้วย มาดูกันว่าสมัยก่อนจอภาพใช้กันแบบไหน
       นี่คือ CRT Monitor เป็นจอภาพที่ใช้หลอดภาพให้เกิดการแสดงผล จะมีขนาดที่ใหญ่ ทำให้เปลืองพื้นที่ใหนการจัดวาง หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาจอภาพให้เป็นแบบ LCD ดูภาพประกอบ


       จะเห็นได้ว่า LCD จะมีความบางมากกว่าจอแบบ CRT อย่างเห็นได้ชัด LCD (LCD: Liquid Crystal Display) ในการทำให้เกิดภาพขึ้นมานั้น จะใช้หลักการทำให้ผลึกเหลวที่บรรจุอยู่ในพาแนลของจอภาพ ที่อยู่ด้านหน้า ถ้าเราสังเกตุดูเวลาเราเอานิ้วไปจิ้มที่จอภาพจะเห็นเหมือนมีน้ำอยู่นั่นก็ คือผลึกเหลว แล้วจะใช้แสงสีขาวยิงผ่านด้านหลังของพาเนลหรือที่เรียกว่า Blacklit แสงสีขาวที่ว่านี้ก็คือแสงที่ได้นั้นมาจากหลอดฟลูออเรสเซนแบบเย็น (CCFL: Cold Cathode) เหตุที่ต้องใช้แสงยิงผ่านทางด้านหลังของพาเนล ก็เนื่องจากจอภาพ LCD ไม่สามารถเปล่งแสงออกมาได้เอง จึงต้องอาศัยการฉายแสงมาจากทางด้านหลังนั่นเอง
       มาถึงยุคการปรับปรุงใหม่เนื่องจากแบบ LCD พาเนลผลึกไม่สามารถเปล่งแส่งออกมาได้ จึงได้เกิดการปรับปรุงจอภาพใหม่ที่เรียกว่า LED (Light-emitting diode) หรือที่เรียกว่าไดโอดเปล่งแสงเอามาเรียงตัวกันเพื่อเป็นตัวกำเนิดแสงแทนนั่น เอง ซึ่งการใช้ LED นั้นจะประกอบด้วยหลอด LED ถึงสามสีด้วยกันได้แก่  แม่สีสามสีคือ แดง เขียว น้ำเงิน (RGB)
       ข้อดีของการเปลี่ยนไปใช้ Blacklit เป็นหลอด LED มันจะช่วยเพิ่ม Contrast ให้กับภาพที่แสดงผลออกมา แสดงรายละเอียดต่างๆ ของภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในฉากที่มีภาพมืดหรือฉากที่มีระดับความสว่างของวัตถุอยู่หลายระดับ ช่วยให้แสดงผลสีดำได้ลึกและดูมีมิติมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อด้วยของจอภาพที่เป็น LCD ได้ดีมากขึ้น และนอกจากนั้นภาพที่ได้จากแอลอีดียังดูมีความสมจริงมาขึ้น เป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากข้อดีในเรื่องของภาพแล้วยังมีข้อดีคือบางมากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้นอีกด้วย
       สำหรับการเลือกซื้อก็ให้คำนึงถึงงบประมาณที่มีก็แล้วกันครับ ซึ่งถ้าจะพูดถึงจอ LED ณ.ตอนนี้ก็ราคาพอที่จะจับจองเป็นเจ้าของได้ แต่ถ้าไปเดินตามร้าน IT เดี๋ยวนี้ โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆหันไปใช้จอภาพแบบ LED แล้ว ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆไปจนถึงหลักหลายหมื่นกันเลยทีเดียว ดังนั้นผู้อ่านท่านใดต้องการซื้อโน๊ตบุ๊กใหม่ซักเครื่องคงต้องมาหาแบบที่ใช้ หน้าจอแสดงผลแบบ LED มาใช้กันเลยทีเดียว

 วิวัฒนาการของลำโพง

วิวัฒนาการของลำโพงมักจะเคลื่อนตัวไปอย่าง ช้า ๆ เสมือนไม่มีการเคลื่อนไหวอะไรมากนัก เหตุผลหนึ่งคงเป็นข้อจำกัดของลำโพง ซึ่งมีองค์ประกอบไม่มากมายอะไร ยิ่งเปรียบเทียบกับอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าลำโพง ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนมากนัก
แต่ อีกแง่หนึ่ง, หลายปีที่ผ่านมา มีลำโพงหน้าใหม่โคจรเข้ามาในแวดวงนักเล่นฯ อยู่บ่อยๆ บ้างมาแล้วก็แค่มาคือมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ปรากฏเนื้องานที่สืบสานกันต่อ บ้างก็มาแล้วตั้งหลักปักฐานขนานนามชื่อเสียงของตัวเองเป็นที่จดจำของนัก เล่นฯ ไปอีกนาน ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นในส่วนลึกว่า แท้ที่จริง ลำโพงมีวิวัฒน์ในตัวมันเอง เพียงแต่พัฒนาการนั้นๆ ได้สำแดงออกมาดีเด่นแค่ไหน เงือนไขต่างๆ ที่จะเอื้อให้มันถ่ายทอดพัฒนาการเหล่านั้น สมบูรณ์แค่ไหน
อย่างไรก็ตาม, ไม่มีใครปฏิเสธหน้าที่ที่สำคัญของลำโพงได้เลย แล้วดูเหมือนลำโพงจะเป็นตัวบ่งบอกสรรพสิ่งในชุดเครื่องเสียงเป็นท้ายที่สุด เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตลำโพงจะก้าวหน้าไปอย่างไรก็เถอะ ที่แน่แท้ นักเล่นเครื่องเสียงย่อมต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเลือกหาอยู่ดี อย่างน้อยก็ให้ตรงกับรสนิยมและเหมาะควรแก่ราคาค่าตัวที่จ่ายออกไป
เมื่อเกริ่นนำเช่นนั้น แล้ว แน่นอนครับ, ลำโพงหน้าใหม่ที่เพิ่งจะคุ้นชื่อคุ้นเสียงกันเมื่อไม่กี่ปีในบ้านเรานี่เอง เป็นลำโพงจากฝรั่งเศล ( ถิ่นเดียวกับเครื่องเล่นซีดีชื่อดัง Micromega ) น่าจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในแง่ของความหมายสองสามย่อหน้าข้างต้น โดยเฉพาะแนวทางที่พัฒนาตัวเองออกไปอีกไกล เป็นการยกคุณภาพทั้งหมดจากเดิมๆ ชนิดที่พูดได้ว่า " เห็นหน้าเห็นหลัง " กันเลยทีเดียว นั่นคือลำโพง Trangle
ผมได้แนะนำลำโพงสองทางวางหิ้งของยี่ห้อนี้ไปแล้ว มาคราวนี้เป็นรุ่นใหม่ทั้งหมด (ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอ) Triangle Antal 202 คือลำโพงตั้งพื้นที่จะได้ลำดับความถัดไป


เช่นที่เกริ่นเอาไว้ หลายๆ ครั้งเรามักจะมองลำโพงแบบเรียบง่ายหรือไม่ก็ตรงข้าม ดูจะเป็นอะไรสักอย่างที่คิดเอาว่า มันจะง่ายต่อการผลิตหรือประกอบลำโพงขึ้นมาสักคู่ แต่หลายคนที่เคยมีประสบการณ์เชิงนี้ ย่อมต้องทราบแก่ใจดีกว่า การออกแบบหรือผลิตลำโพงขึ้นมาสักคู่ให้คุณภาพที่ดีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่นที่คิด ทั้งนี้องค์ประกอบหรือรูปลักษณ์ แทบไม่มีส่วนในการบ่งบอกคุณภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในได้เลย
แรกที่ผมเห็นลำโพง Triangle, นี่เป็นลำโพงที่ออกแบบตู้ธรรมสามัญเอามากๆ ทำตู้ง่ายๆ เรียบๆ ไม่มีส่วนใดที่แสดงให้ประจักษ์ถึงความพยายามให้มากเท่าที่ทำได้ (ขออภัย)ลำโพงที่ทำขายกันในตลาดบ้านหม้อ ดูจะมีภาษีดีกว่าด้วยซ้ำไป นั่นถ้ามองกันแต่เพียงภายนอกด้วยสายตา แต่ก็แน่ล่ะครับ นั่นเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่มีอะไรจะไปกำหนดความคิดได้ ใครก็คิดได้แล้วก็คิดกันไป แต่ที่สุดแล้ว ลำโพงต้องพิสูจน์ตัวมันเองด้วยการฟังเท่านั้น
Triangle Antal 202 เป็น ลำโพงในตระกูลใหม่ที่พัฒนามาจากตระกูลเดิม ไล่เรียงตั้งแต่รุ่นเล็กวางหิ้งคือ Titus ไต่ระดับขึ้นไปถึงรุ่นสูงสุดในตระกูลนี้คือ Celius ทั้งหมดนี้ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอคือ 202 เป็นนัยแห่งการปรับเปลี่ยนตระกูลเดิมนั่นเอง และรุ่นนี้ก็รองลำดับลงมาจาก Celius เพียงรุ่นเดียว
แม้ตัวตู้ถูกออกแบบเกือบ เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ตาม แต่สัดส่วนของตู้ก็จัดว่าเป็นลำโพงตั้งพื้นที่ค่อนข้างสูง ด้วยจำนวนตัวขับที่จัดเรียงสมมาตรในแนวตั้งบังคับเป็นคอลัมน์ขึ้นไป ความสูงของตู้จากพื้นถึงขอบบน 42.5 นิ้ว มีหน้ากว้าง 8.7 นิ้วและด้านลึก 11.7 นิ้ว ทั้งนี้ลำโพง Triangle Antal 202 ออกแบบเป็นลำโพงตั้งพื้นสามทางสี่ตัวขับ โดยเลือกใช้วูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้มสองยูนิตขนาด 6 นิ้ว และเสริมด้วยวูฟเฟอร์มิดเรนจ์สำหรับตอบสนองย่านเสียงกลางโดยตรงอีกหนึ่ง ยูนิต ขนาดหน้าตัด 5 นิ้ว ปิดท้ายด้วยทวีตเตอร์โดมโลหะขนาด 1 นิ้ว
ท่อเปิดวางไว้ด้านหน้า ของตู้ช่วงล่างเกือบติดพื้น ซึ่งใกล้กันนั้นมีแผ่นโลหะระบุชื่อลำโพงแผ่นใหญ่ติดเอาไว้เป็นจุดเด่น ในขณะที่ด้านหลังตรงข้ามกับท่อเปิด ให้ขั้วต่อชุบทองอย่างดีสองคู่ สำหรับการเลือกต่อสายลำโพงแบบไบไวร์ หรือเล่นเป็นซิงเกิ้ลไวร์ด้วยตัวจั้มที่ติดมาให้แล้ว
ทีนี้ถ้าจะขมวดปมที่ เริ่มต้นไว้ นั่นคือความเรียบง่ายของตู้ ก็เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒน์ของลำโพงยี่ห้อที่ตัวขับหรือไดร์เวอร์ที่เลือกใช้ ทั้งหมดนั่นเอง ทางบริษัทผู้ผลิตเน้นเอาไว้ชัดเจนถึงพัฒนาการที่พยายามเอาดีกับวัสดุตัวขับ แน่นอนว่าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มาจนมั่นใจถึงคุณภาพประสิทธิภาพ แล้วมาคัดท้ายด้วยการปรับจูนกันที่พาสซีฟครอสส์โอเวอร์หรือจุดแบ่งความถี่ ซึ่งในแผ่นโปรยของบริษัทก็ระบุไว้ว่า ทุกรุ่นจะเลือกใช้ตัวขับชนิดเดียวกันทั้งหมด
เช่นตัวไดรเวอร์มิดเรนจ์ กรวยหรือไดอะแฟรมผลิตจากสารไฟเบอร์ผสม เลือกใช้ขอบยางหรือเซอราวด์เป็นสารโพลีเมอร์ สำคัญที่กำหนดย่านความถี่เอาไว้ที่ 500-5,000 เฮิร์ตซ เหตุที่สามารถอัพเกรดหรือพัฒนาตัวขับให้รุดหน้าไปได้อย่างใจนึก ก็เพราะบริษัทฯ ตัวขับขึ้นเองทั้งหมด ไม่ได้สั่งสเปคฯจากโรงงานมือปืนรับจ้างทั่วไป ซึ่งเริ่มตั้งแต่วอยซ์คอลล์จนถึงการขึ้นรูปลำโพงทั้งหมดเป็นที่สุด
เช่นนี้แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะปรับจูนคุณภาพลำโพงในภาพรวมออกได้ตามจินตนาการ เพราะความสำคัญส่วนหนึ่ง อยู่ที่การตอบสนองของตัวขับ เมื่อกำหนดสัดส่วนการตอบสนองความถี่หลักๆ ไว้ที่ตัวขับ การปรับแต่งจุดตัดก็ลดกระบวนการลงได้มาก แน่นอนว่ากรรมวิธีนี้ จะถึงพร้อมซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพได้อย่างเพียงพอ และง่ายต่อการควบคุมคุณภาพทั้งหมดในการออกแบบขั้นตอนท้ายสุด
Triangle Antal 202 ตอบสนองความถี่ตลอดย่านออดิโอ 50-20,000 เฮิร์ตซ (+/- 3 ดีบี เฮิร์ตซ-กิโลเฮิร์ตซ) รับกำลังขับต่อเนื่องได้ถึง 120 วัตต์และ 240 วัตต์สำหรับกำลังสวิง ความต้านทานปกติที่ 8 โอห์ม มีความไว้ที่ 91 ดีบี แบ่งจุดตัดความถี่ไว้สองจุดคือโรลล์ออฟย่านต่ำที่ 800 เฮิร์ตซ และตัดย่านสูงไว้ที่ 5 กิโลเฮิร์ตซ
Triangle Antal 202 จัดจำหน่ายโดยบริษัท ออดิโอคอมกรุ๊ป จำกัด
ราคา 75,000 บาทต่อคู่ (เมษายน 2545)

               ประวัติและวิวัฒนาการของเครื่องถ่ายเอกสาร (Copying Machine) 

       เครื่องถ่ายเอกสาร (copying Machine) วิวัฒนาการมาจากกล้องถ่ายภาพ 
ซึ่งผู้คิดค้นได้พยายามรบรวมขั้นตอนวิธีการถ่ายภาพมาดัดแปลงให้มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน
ในระยะแรก ๆ เครื่องถ่ายเอกสารจะมีลักษณะเป็นเครื่องทำสำเนาเอกสารขนาดเล็ก 
เรียกว่า Photocopy หรือ Photostat ถ่ายสำเนาได้ครั้งล่ะ 1 แผ่น เป็นระบบ Dual Spectrum 
และเป็นชนิดเติมน้ำยา วิธีการใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก และใช้ถ่ายรูปทุกประการ 
โดยต้อนฉบับแต่ละแผ่นจะถ่ายสำเนาได้ครั้งละ 1 แผ่นเท่านั้น นอกจากนี้ 
จะต้องใช้กระดาษเครื่องผ่านแสงไฟเพื่อให้ภาพ Negative นำเข้าเครื่องผ่านน้ำยาอีกครั้งหนึ่ง
จึงลอกแผ่น Negative ออก ก็จะได้เอกสารที่ถ่ายสำเนาออกมา อย่างไรก็ตาม 
เครื่องถ่ายเอกสารแบบ Dual Spectrum นี้ประสิทธิภาพในการถ่ายสำเนาเอกสารไม่คมชัดนัก 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 นักกฎหมายชาวอเมริกันชื่อ Chester Carlson 
ได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องถ่ายเอกสารจนสำเร็จ สามารถถ่ายเอกสารได้ครั้งละหลาย ๆ แผ่น 
โดยนำระบบ Copyflo มาใช้งาน ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสาร
ชนิดเติมน้ำยานี้ไม่ได้รับความนิยม และไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว 
   
       ปัจจบันเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงานโดยทั่วไป เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ 
(Electrostatic Copying Machine) เป็นชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ชนิดเดียวเท่านั้น 
สำเนาภาพที่ได้จากเครื่องถ่ายเอกสารด้วยผงหมึกนี้ภาพจะคมชัดและแห้งสนิท 
       ต้นทุนการผลิตชิ้นงานค่อนข้างต่ำแต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง  สามารถถ่ายเอกสารได้เป็น
จำนวนมาก โดยใช้มือหรือจะใช้ถาดป้อนกระดาษก็ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  และยังสามารถ
แทรกงานด่วนในขณะถ่ายเอกสารอื่นอยู่ได้ มีทั้งระบบย่อ  ขยายและซูมภาพได้  นอกจากนี้ยังมี
เครื่องถ่ายเอกสารที่กลับหน้าเองอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้
กับระบบกระดาษธรรมดาแต่ใช้ผงหมึกแบบแมกนิไฟน์โฟรเซส ที่ให้ความละเอียดแก่สำเนาที่
ถ่ายเอกสารมากกว่า คุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนา
ระบบการทำงานของเครื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้
 เป็นคุณสมบัติที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละ
 
ประเภทของเครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (Computer printer) คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
  1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
  2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม


 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)
 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก
 

พล็อตเตอร์ (Plotter)
พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาใน การเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

 
 อ้างอิง : http://www.audio-teams.com/aureview/speaker/TriangleAntal202/1.shtml
             http://sara-deed.blogspot.com/2011/08/led.html
             http://www.qghservice.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1277213

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ
advertisements
อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard)แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ
-  แป้นอักขระ (Character Keys)
-  แป้นควบคุม (Control Keys)
-  แป้นฟังก์ชัน (Function Keys)
-  แป้นตัวเลข (Numeric Keys)













อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball)
 แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
 
 


จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)



ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
 



อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
 



อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)




ทฤษฎีระบบ


ทฤษฎีระบบ (System Theory)
ความหมายของระบบ
ระบบ หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และขึ้นต่อกัน  โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ร่วมกันทำงานอย่างผสมผสานกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

ประเภทของระบบ       โดยทั่วไประบบ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ระบบปิด และระบบเปิดในองค์การแบบปิด (Closed System) จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ส่วนในองค์การแบบเปิด (Open System) จะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสิ่งแวดล้อม หากพิจารณาโดยรายละเอียด พบว่า

        ระบบปิด (Closed System) คือ ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
        ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความสมดุล รวมทั้งสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลหรืออิทธิพลต่อการทำงานขององค์การเช่นกัน (ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 67) วิโรจน์ สารรัตนะ (2545, หน้า 24-25) French and Bell (1990, pp. 53-54) Robbins et al. (2006, p. 55) Kinichi and Kreitner (2003, p. 307)

องค์ประกอบของระบบ
         จากความหมายของระบบที่ได้ให้คำนิยามนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกระบบ ต้องมีองค์ประกอบหรือสิ่งต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่องค์การได้ตั้งไว้ ดังนั้นภายในระบบจึงมีองค์ประกอบดังนี้

        สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ และองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อันเป็นที่ต้องการของระบบนั้นด้วย ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่ นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น

        กระบวนการ (Process) เป็นองค์ประกอบที่สองของระบบ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น

        ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ     หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา      ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น

         ทั้ง 3 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดไม่ได้ นอกจากนั้นทั้ง 3 องค์ประกอบยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การด้วย ในขณะที่องค์การต้องดำเนินกิจกรรมนั้น สิ่งที่ช่วยให้องค์การสามารถตรวจสอบว่ากิจกรรมต่าง ๆ นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ หรือไม่ มีส่วนใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง จึงต้องอาศัย ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถปรับปรุง ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) 

        สรุป  ระบบการปฏิบัติงานขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) กระบวนการ (Process) และผลงาน (Output) โดยแต่ละส่วนจะต้องมีความสัมพันธ์และผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์การ
ระบบ (System)

ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
ประเภทของระบบ
                พิจารณาจากจำนวนหน่วยงานย่อย และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน
·  ระบบอย่างง่าย (Simple System) หมายถึง ระบบที่มีสมาชิก หรือหน่วยงานย่อย จำนวนไม่มาก มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานแบบไม่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน

·  ระบบซับซ้อน (Complex System) หมายถึง ระบบที่มีสมาชิก หรือจำนวนหน่วยงานจำนวนมาก มิหนำซ้ำมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันแบบ สลับซับซ้อนในทางขวาง และทางตั้ง
 
พิจารณาจากปฏิกิริยาที่มีต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก

      ·  ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

·  ระบบปิด (Closed System) หมายถึง ระบบที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
 พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของระบบ

·  ระบบคงที่ (Stable System) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม หรือเมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ระบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

·  ระบบไม่คงที่ หรือ พลวัตร (Dynamic System) หมายถึง ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอ เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ "เทคโนโลยี"
พิจารณาจากความสามารถในการปรับตัว
·  แบบปรับตัว (Adaptive) หมายถึง ระบบที่มีความสามารถในการปรับการเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือปรับตนเอง เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

·  แบบไม่ปรับตัว (Non-adaptive) หมายถึง ระบบที่ไม่มีความสามารถในการปรับการเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือปรับตนเอง เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
              
พิจารณาจากอายุของระบบ


·  แบบถาวร (Permanent) หมายถึง ระบบที่มีการดำรงอยู่ หรือดำเนินงานอยู่ได้เป็นระยะเวลายาวนาน

·  แบบชั่วคราว (Temporary) หมายถึง ระบบที่มีการดำรงอยู่ได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือหมายถึง ระบบที่มีอายุตามระยะเวลา ที่ปฏิบัติภารกิจ เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นระบบนั้นก็ยุติบทบาท หรือเลิกไป


ระบบคอมพิวเตอร์  ( Computer  System)

            ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการ
ของผู้ใช้งานนั้น  ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
เสมอ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน 
โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ตามที่
มนุษย์ต้องการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ซอฟต์แวร์(software) และบุคลากร(Peopleware) นั่นคือ 
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
               • ฮาร์ดแวร์(hardware)
               • ซอฟต์แวร์(software)
               • บุคลากร(Peopleware)

  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่
สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็น
และสัมผัสได้  หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ  ทำงานตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ 
 ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
 ซอฟแวร์ (Software) คือ  คำสั่ง หรือชุดคำสั่ง  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ
คอมพิวเตอร์  และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์)  
สามารถสื่อสารกันได้
บุคลากร (People Ware) หรือผู้ใช้ระบบ  ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่ง
ที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้าง
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องนั่นเอง


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
•  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ
 อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์
ประกอบด้วย
      หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
      หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
      หน่วยความจำหลัก
      หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
      หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )


หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น

 หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้
รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก 
การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ 
ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ 
ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำ
หลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่า
ที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก 
จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง 
ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำ
หลักมาก


•    ซอฟต์แวร์ (Software) 
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ 

เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้
ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก 
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์
ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
     ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์

ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ 
ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการ
ทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

•  บุคลากร (Peopleware) 
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า 

ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม 
อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอผู้ใช้
คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วน
ก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์
ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า 
เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) 
หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูง
ขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์
เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็น
ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) 
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวม

มาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง 
ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน


กระบวนการทำงาน (Procedure) 
      กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งา

เฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง 
ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
     Ø จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
     Ø สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
     Ø เลือกรายการ
     Ø ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
     Ø รับเงิน
     Ø รับใบบันทึกรายการ และบัตร
      การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และ

เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 
เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual)
 เป็นต้น
                                                  
                                                หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผล
และเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ  พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้าง
กะทัดรัดว่า  เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้
ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
        หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและ
การประมวลผลข้อมูล  จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข 
 เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. ความเร็ว  (Speed)  เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก  

ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
    - มิลลิเซกัน (Millisecond)      ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที  

หรือ ของวินาที
    - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที    

หรือของวินาที
    - นาโนเซกัน (Nanosecond)    ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที  

หรือของวินาที
ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค  ซึ่งได้มีการ

พัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล 
ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที  จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งาน
อย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (Memory)  เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ  ซึ่งสามารถใช้

บันทึกและเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เรา
เรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถ
ทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น    การสำรวจสำมะโนประชากร  หรือรายงานผลการ
เลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง   จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ  คือสามารถ
ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ   ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย
ในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ
และประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ 
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical)
  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณแล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบ

ซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้
นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็น
ต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ใน
กิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจาก
มนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2018.htm