วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ไวรัสคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรมไม่พึงประสงค์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  คืออะไร
  
ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรมๆ หนึ่ง การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสแต่ละตัว ปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ัตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ เป็นต้น  


ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือประเภทอย่างไรบ้าง

1. Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
        2.  Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ีที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่ 2 วิธี คือ การแทรกตัวเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัสอยู่ ตัวไวรัสจะเ้ข้าไปหาโปรแกรมตัวอื่นๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้น ทำงานตามปกติต่อไป
         3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาใ้ห้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์
      4. Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
5. Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น 


บอกรายละเอียด ลักษณะสำคัญของ ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์ ประเภทต่างๆ

เราสามารถแบ่งไวรัสที่มีอยู่มากกว่าแปดพันชนิด ตามลักษณะแหล่งที่อยู่ และการฝังตัวของมันได้ดังนี้
  1. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์และตารางพาร์ติชัน ทุกครั่งทีทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อน เสมอ ทำให้ไวรัสประเภทนี้ถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำเพื่อรจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์ไวรัสประเภท ไม่สามารถทำลายได้โดยการเปิดเครื่องใหม่ เพราะมันจะเริ่มอยู่ในหน่วยความจำตั้งแต่เปิดเครื่อง และจะเมทำงานตลอดเวลานับจากนั้น
  2. ไวรัสที่เกาะตามไฟล์ ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล .COM และ .EXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรม .COM .EXE ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์
  3. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ในไฟล์ COMMAND.COM ไฟล์นี้เป็น ไฟล์ คำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ เช่น เมื่อไปใช้งานในโหมด DOS Prompt แล้วไฟล์คำสั่ง COMMAND จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเข้าใจ เช่น คำสั่ง DEL,REN,DIR,COPY เป็นต้น จากการที่ไฟล์นี้ทำงานบ่อย ๆ นี่เอง ทำให้กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง ทำลายยากกว่าไวรัสประเภทแรก
  4. ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในหน่วยความจำ ไวรัสประเภทนี้จะฝังติดอยู่ในหน่วยความจำ และรอจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม ไวรัสนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที
  5. ไวรัสประเภททำลายเฉพาะไฟล์ ไวรัสประเภทนี้เกาะติดไฟล์โปรแกรมไปเรื่อย ๆ และเมื่อพบไฟล์ที่ต้องการก็จะเริ่มทำงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การทำลาย การเคลื่อนย้าย เป็นไวรัสที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าไวรัสประเภทอื่น ๆ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าติดไวรัสแล้ว

 บอกวิธีการป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์


การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มีเทคนิคอยู่มากมายหลายวิธี ดังนี้
  1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรีต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
  2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น
  4. ควรสำรองข้อมูลไว้เสมอ
  5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ
  6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect )
  7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด
  8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด
  9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน


  ยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยม มาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

1. AVG Antivirus Free Edition 2011: เป็นโปรแกรมที่สามารถป้องกันไวรัสและสปายแวร์ ตัวใหม่ๆ ได้ เช่น ไวรัสที่มากับ E-mail เพราะทุกวันนี้ไวรัสและสปายแวร์จะมีการอัพเดทความสามารถในการทำลายอยู่ตลอด ดังนั้นเราก็ควรอัพเดทโปรแกรมที่มีอยู่และอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ ของโปรแกรมอยู่ตลอด
2. Avira AntiVir Personal Free Edition: สามารถกำจัดไวรัสได้มากว่า 300,000 ชนิด มีการอัพเดท ข้อมูลไวรัสในเครื่องของเราแบบอัตโนมัติ ทำให้โปรแกรมไม่ล้าหลัง และตามไวรัสตัวใหม่ๆ ได้ทัน โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบเล่นอินเทอร์เน็ต และชอบดาวน์โหลด ทั้งหลาย แต่บางทีเวลาที่เราสแกน โปรแกรมก็ชอบลบข้อมูลบางอย่างออกไปด้วย และไม่ค่อยซับพอร์ตโปรแกรมอื่น
3. Avast Free Antivirus: สามารถป้องกันไวรัส Spyware หรือ Malware ต่าง ๆ ที่แฝงตัวมากับเว็บไซต์ไม่ให้เข้ามาทำร้ายข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ การสแกนสามารถสแกนได้ทั้งไฟล์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสแกนขณะที่บู๊ตเครื่องก็ได้ โดยโปรแกรมจะตรวจจับไวรัสและกำจัดไวรัสให้ทันทีที่พบ และในปัจจุบันโปรแกรมสามารถรองรับภาษาได้มากกว่า 19 ภาษา เป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก กระทัดรัด สามารถใช้งานได้ง่าย
4. PC Tools AntiVirus Free: โปรแกรมนี้ก็จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ให้ติดไวรัสได้ง่ายๆ ซึ่งเหมือนกับโปรแกรมสแกนไวรัสตัวอื่น ๆ สำหรับโปรแกรมนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี แต่ขนาดของไฟล์อาจจะค่อนข้างใหญ่
5. Microsoft Security Essentials: สำหรับโปรแกรมนี้ เป็นโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสหรือสปายแวร์ได้เกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าไวรัสจะเปลี่ยนสถานะในการเข้าถึงข้อมูลของเราเป็นอย่างไรก็ตาม โปรแกรมก็จะตรวจพบไวรัสได้อยู่ดี
 

การดาวน์โหลดและการติดตั้ง ESET NOD32 Antivirus (5.x)
สำหรับการติดตั้ง ESET NOD32 Antivirus 5 สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
Microsoft® Windows® 7/Vista/Home Server/XP/2000 (32-bit)
Microsoft® Windows® 7/Vista/Home Server/XP (64-bit)
ดาวน์โหลด ESET Live Installer
กดเลือก Save เมื่อมีหน้าต่างถามขึ้นมา และเซฟไฟล์ไว้ที่ Desktop เมื่อดาวน์โหลดเสร็จคุณสามารถกด Run เพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการติดตั้งได้เลยหรือถ้าคุณยังไม่พร้อม สามารถไปที่ Desktop หรือในที่ที่คุณเซฟไฟล์ตัวติดตั้งไว้ แล้วดับเบิ้ลคลิกเพื่อรันได้
สำคัญ: ตรวจสอบว่าไม่มีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสอื่นในคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้ามีการติดตั้งโซลูชันการป้องกันไวรัสสองชนิดขึ้นไปบนคอมพิวเตอร์เครื่อง เดียวอาจมีการทำงานที่ขัดแย้งกัน ขอแนะนำให้คุณลบการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสอื่นในระบบของคุณ Uninstallers (removal tools)



วิธีการติดตั้ง ESET NOD32 Antivirus 4.0.68 32
1.ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ eav_nt32_enu.
2.คลิก Next
 

 


3.เลือก I accept ...... คลิก Next






4.เลือก Typical... คลิก Next 




5. คลิก Next 




6.เลือก Enable detection คลิก Next 




7.คลิก Install 




8.คลิก Finsh 




แหล่งที่มา : http://www.techxcite.com/topic/4217.htmlhttp://www.dld.go.th/ict/article/virus/v20.html
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_11.html
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/virus/index.html
http://eset.co.th/th/support/knowledgebase/knowledge-single/article/eset-nod32-antivirus-5/


วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

                                             เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล
การนำเข้า ข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำ เป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด พื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึงและปีที่จัดทำข้อมูล เพื่อประเมินคุณภาพ และคักเลือกข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
                                             
                           หน่วยความจำบนอุปกรณ์แสดงผลภาพ,เสียง,ปริ้นเตอร์
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
          - Keyboard (คีย์บอร์ด)
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
1.Keyboard

          - Mouse (เมาส์)
          Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)
2.Mouse

          - Scanner (สแกนเนอร์)
          สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
3.Scanner

          - Webcam (เว็บแคม)
          เว็บแคมหรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถ เห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
4.Webcam

          - Microphone (ไมโครโฟน)
          ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
5.Microphone

          - Touch screen (ทัชสกรีน)
          ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
6.Touch-Screen

2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
          1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
          2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
          3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
7.CPU

3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บ ข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
          - จอภาพ (Monitor)
8.Monitor

          - อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
9.Projector

          - อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
10.Speaker

          3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
          - เครื่องพิมพ์ (Printer)
11.Printer

          - เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
12.Plotter

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
          หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็น หน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
           โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
13.Rom-Bios

                   4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
           ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
14.Ram

          4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
          สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                   4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
15.Harddisk

                   4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
16.CD-DVD

                   4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบ เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
17.DAT-QIC

                   4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา


18.Flash-Drive
    

                     วิวัฒนาการของจอภาพจนมาสู่เทคโนโลยี LED

       ปัจจุบันได้มีการพัฒนาส่วนแสดงผลที่เรียกกันว่าจอภาพ ให้มีเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เกิดข้อดีขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นทำให้ภาพที่ออกมาชัดเจนขึ้น ประหยัดพลังงานมาขึ้น หรือแม้แต่ทำให้การมองภาพในมุมต่างๆได้ดีอีกด้วย มาดูกันว่าสมัยก่อนจอภาพใช้กันแบบไหน
       นี่คือ CRT Monitor เป็นจอภาพที่ใช้หลอดภาพให้เกิดการแสดงผล จะมีขนาดที่ใหญ่ ทำให้เปลืองพื้นที่ใหนการจัดวาง หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาจอภาพให้เป็นแบบ LCD ดูภาพประกอบ


       จะเห็นได้ว่า LCD จะมีความบางมากกว่าจอแบบ CRT อย่างเห็นได้ชัด LCD (LCD: Liquid Crystal Display) ในการทำให้เกิดภาพขึ้นมานั้น จะใช้หลักการทำให้ผลึกเหลวที่บรรจุอยู่ในพาแนลของจอภาพ ที่อยู่ด้านหน้า ถ้าเราสังเกตุดูเวลาเราเอานิ้วไปจิ้มที่จอภาพจะเห็นเหมือนมีน้ำอยู่นั่นก็ คือผลึกเหลว แล้วจะใช้แสงสีขาวยิงผ่านด้านหลังของพาเนลหรือที่เรียกว่า Blacklit แสงสีขาวที่ว่านี้ก็คือแสงที่ได้นั้นมาจากหลอดฟลูออเรสเซนแบบเย็น (CCFL: Cold Cathode) เหตุที่ต้องใช้แสงยิงผ่านทางด้านหลังของพาเนล ก็เนื่องจากจอภาพ LCD ไม่สามารถเปล่งแสงออกมาได้เอง จึงต้องอาศัยการฉายแสงมาจากทางด้านหลังนั่นเอง
       มาถึงยุคการปรับปรุงใหม่เนื่องจากแบบ LCD พาเนลผลึกไม่สามารถเปล่งแส่งออกมาได้ จึงได้เกิดการปรับปรุงจอภาพใหม่ที่เรียกว่า LED (Light-emitting diode) หรือที่เรียกว่าไดโอดเปล่งแสงเอามาเรียงตัวกันเพื่อเป็นตัวกำเนิดแสงแทนนั่น เอง ซึ่งการใช้ LED นั้นจะประกอบด้วยหลอด LED ถึงสามสีด้วยกันได้แก่  แม่สีสามสีคือ แดง เขียว น้ำเงิน (RGB)
       ข้อดีของการเปลี่ยนไปใช้ Blacklit เป็นหลอด LED มันจะช่วยเพิ่ม Contrast ให้กับภาพที่แสดงผลออกมา แสดงรายละเอียดต่างๆ ของภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในฉากที่มีภาพมืดหรือฉากที่มีระดับความสว่างของวัตถุอยู่หลายระดับ ช่วยให้แสดงผลสีดำได้ลึกและดูมีมิติมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อด้วยของจอภาพที่เป็น LCD ได้ดีมากขึ้น และนอกจากนั้นภาพที่ได้จากแอลอีดียังดูมีความสมจริงมาขึ้น เป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากข้อดีในเรื่องของภาพแล้วยังมีข้อดีคือบางมากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้นอีกด้วย
       สำหรับการเลือกซื้อก็ให้คำนึงถึงงบประมาณที่มีก็แล้วกันครับ ซึ่งถ้าจะพูดถึงจอ LED ณ.ตอนนี้ก็ราคาพอที่จะจับจองเป็นเจ้าของได้ แต่ถ้าไปเดินตามร้าน IT เดี๋ยวนี้ โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆหันไปใช้จอภาพแบบ LED แล้ว ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆไปจนถึงหลักหลายหมื่นกันเลยทีเดียว ดังนั้นผู้อ่านท่านใดต้องการซื้อโน๊ตบุ๊กใหม่ซักเครื่องคงต้องมาหาแบบที่ใช้ หน้าจอแสดงผลแบบ LED มาใช้กันเลยทีเดียว

 วิวัฒนาการของลำโพง

วิวัฒนาการของลำโพงมักจะเคลื่อนตัวไปอย่าง ช้า ๆ เสมือนไม่มีการเคลื่อนไหวอะไรมากนัก เหตุผลหนึ่งคงเป็นข้อจำกัดของลำโพง ซึ่งมีองค์ประกอบไม่มากมายอะไร ยิ่งเปรียบเทียบกับอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าลำโพง ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนมากนัก
แต่ อีกแง่หนึ่ง, หลายปีที่ผ่านมา มีลำโพงหน้าใหม่โคจรเข้ามาในแวดวงนักเล่นฯ อยู่บ่อยๆ บ้างมาแล้วก็แค่มาคือมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ปรากฏเนื้องานที่สืบสานกันต่อ บ้างก็มาแล้วตั้งหลักปักฐานขนานนามชื่อเสียงของตัวเองเป็นที่จดจำของนัก เล่นฯ ไปอีกนาน ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นในส่วนลึกว่า แท้ที่จริง ลำโพงมีวิวัฒน์ในตัวมันเอง เพียงแต่พัฒนาการนั้นๆ ได้สำแดงออกมาดีเด่นแค่ไหน เงือนไขต่างๆ ที่จะเอื้อให้มันถ่ายทอดพัฒนาการเหล่านั้น สมบูรณ์แค่ไหน
อย่างไรก็ตาม, ไม่มีใครปฏิเสธหน้าที่ที่สำคัญของลำโพงได้เลย แล้วดูเหมือนลำโพงจะเป็นตัวบ่งบอกสรรพสิ่งในชุดเครื่องเสียงเป็นท้ายที่สุด เทคโนโลยีการออกแบบและผลิตลำโพงจะก้าวหน้าไปอย่างไรก็เถอะ ที่แน่แท้ นักเล่นเครื่องเสียงย่อมต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเลือกหาอยู่ดี อย่างน้อยก็ให้ตรงกับรสนิยมและเหมาะควรแก่ราคาค่าตัวที่จ่ายออกไป
เมื่อเกริ่นนำเช่นนั้น แล้ว แน่นอนครับ, ลำโพงหน้าใหม่ที่เพิ่งจะคุ้นชื่อคุ้นเสียงกันเมื่อไม่กี่ปีในบ้านเรานี่เอง เป็นลำโพงจากฝรั่งเศล ( ถิ่นเดียวกับเครื่องเล่นซีดีชื่อดัง Micromega ) น่าจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในแง่ของความหมายสองสามย่อหน้าข้างต้น โดยเฉพาะแนวทางที่พัฒนาตัวเองออกไปอีกไกล เป็นการยกคุณภาพทั้งหมดจากเดิมๆ ชนิดที่พูดได้ว่า " เห็นหน้าเห็นหลัง " กันเลยทีเดียว นั่นคือลำโพง Trangle
ผมได้แนะนำลำโพงสองทางวางหิ้งของยี่ห้อนี้ไปแล้ว มาคราวนี้เป็นรุ่นใหม่ทั้งหมด (ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอ) Triangle Antal 202 คือลำโพงตั้งพื้นที่จะได้ลำดับความถัดไป


เช่นที่เกริ่นเอาไว้ หลายๆ ครั้งเรามักจะมองลำโพงแบบเรียบง่ายหรือไม่ก็ตรงข้าม ดูจะเป็นอะไรสักอย่างที่คิดเอาว่า มันจะง่ายต่อการผลิตหรือประกอบลำโพงขึ้นมาสักคู่ แต่หลายคนที่เคยมีประสบการณ์เชิงนี้ ย่อมต้องทราบแก่ใจดีกว่า การออกแบบหรือผลิตลำโพงขึ้นมาสักคู่ให้คุณภาพที่ดีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่นที่คิด ทั้งนี้องค์ประกอบหรือรูปลักษณ์ แทบไม่มีส่วนในการบ่งบอกคุณภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในได้เลย
แรกที่ผมเห็นลำโพง Triangle, นี่เป็นลำโพงที่ออกแบบตู้ธรรมสามัญเอามากๆ ทำตู้ง่ายๆ เรียบๆ ไม่มีส่วนใดที่แสดงให้ประจักษ์ถึงความพยายามให้มากเท่าที่ทำได้ (ขออภัย)ลำโพงที่ทำขายกันในตลาดบ้านหม้อ ดูจะมีภาษีดีกว่าด้วยซ้ำไป นั่นถ้ามองกันแต่เพียงภายนอกด้วยสายตา แต่ก็แน่ล่ะครับ นั่นเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่มีอะไรจะไปกำหนดความคิดได้ ใครก็คิดได้แล้วก็คิดกันไป แต่ที่สุดแล้ว ลำโพงต้องพิสูจน์ตัวมันเองด้วยการฟังเท่านั้น
Triangle Antal 202 เป็น ลำโพงในตระกูลใหม่ที่พัฒนามาจากตระกูลเดิม ไล่เรียงตั้งแต่รุ่นเล็กวางหิ้งคือ Titus ไต่ระดับขึ้นไปถึงรุ่นสูงสุดในตระกูลนี้คือ Celius ทั้งหมดนี้ลงท้ายด้วยรหัสปีคอศอคือ 202 เป็นนัยแห่งการปรับเปลี่ยนตระกูลเดิมนั่นเอง และรุ่นนี้ก็รองลำดับลงมาจาก Celius เพียงรุ่นเดียว
แม้ตัวตู้ถูกออกแบบเกือบ เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ตาม แต่สัดส่วนของตู้ก็จัดว่าเป็นลำโพงตั้งพื้นที่ค่อนข้างสูง ด้วยจำนวนตัวขับที่จัดเรียงสมมาตรในแนวตั้งบังคับเป็นคอลัมน์ขึ้นไป ความสูงของตู้จากพื้นถึงขอบบน 42.5 นิ้ว มีหน้ากว้าง 8.7 นิ้วและด้านลึก 11.7 นิ้ว ทั้งนี้ลำโพง Triangle Antal 202 ออกแบบเป็นลำโพงตั้งพื้นสามทางสี่ตัวขับ โดยเลือกใช้วูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้มสองยูนิตขนาด 6 นิ้ว และเสริมด้วยวูฟเฟอร์มิดเรนจ์สำหรับตอบสนองย่านเสียงกลางโดยตรงอีกหนึ่ง ยูนิต ขนาดหน้าตัด 5 นิ้ว ปิดท้ายด้วยทวีตเตอร์โดมโลหะขนาด 1 นิ้ว
ท่อเปิดวางไว้ด้านหน้า ของตู้ช่วงล่างเกือบติดพื้น ซึ่งใกล้กันนั้นมีแผ่นโลหะระบุชื่อลำโพงแผ่นใหญ่ติดเอาไว้เป็นจุดเด่น ในขณะที่ด้านหลังตรงข้ามกับท่อเปิด ให้ขั้วต่อชุบทองอย่างดีสองคู่ สำหรับการเลือกต่อสายลำโพงแบบไบไวร์ หรือเล่นเป็นซิงเกิ้ลไวร์ด้วยตัวจั้มที่ติดมาให้แล้ว
ทีนี้ถ้าจะขมวดปมที่ เริ่มต้นไว้ นั่นคือความเรียบง่ายของตู้ ก็เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒน์ของลำโพงยี่ห้อที่ตัวขับหรือไดร์เวอร์ที่เลือกใช้ ทั้งหมดนั่นเอง ทางบริษัทผู้ผลิตเน้นเอาไว้ชัดเจนถึงพัฒนาการที่พยายามเอาดีกับวัสดุตัวขับ แน่นอนว่าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มาจนมั่นใจถึงคุณภาพประสิทธิภาพ แล้วมาคัดท้ายด้วยการปรับจูนกันที่พาสซีฟครอสส์โอเวอร์หรือจุดแบ่งความถี่ ซึ่งในแผ่นโปรยของบริษัทก็ระบุไว้ว่า ทุกรุ่นจะเลือกใช้ตัวขับชนิดเดียวกันทั้งหมด
เช่นตัวไดรเวอร์มิดเรนจ์ กรวยหรือไดอะแฟรมผลิตจากสารไฟเบอร์ผสม เลือกใช้ขอบยางหรือเซอราวด์เป็นสารโพลีเมอร์ สำคัญที่กำหนดย่านความถี่เอาไว้ที่ 500-5,000 เฮิร์ตซ เหตุที่สามารถอัพเกรดหรือพัฒนาตัวขับให้รุดหน้าไปได้อย่างใจนึก ก็เพราะบริษัทฯ ตัวขับขึ้นเองทั้งหมด ไม่ได้สั่งสเปคฯจากโรงงานมือปืนรับจ้างทั่วไป ซึ่งเริ่มตั้งแต่วอยซ์คอลล์จนถึงการขึ้นรูปลำโพงทั้งหมดเป็นที่สุด
เช่นนี้แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะปรับจูนคุณภาพลำโพงในภาพรวมออกได้ตามจินตนาการ เพราะความสำคัญส่วนหนึ่ง อยู่ที่การตอบสนองของตัวขับ เมื่อกำหนดสัดส่วนการตอบสนองความถี่หลักๆ ไว้ที่ตัวขับ การปรับแต่งจุดตัดก็ลดกระบวนการลงได้มาก แน่นอนว่ากรรมวิธีนี้ จะถึงพร้อมซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพได้อย่างเพียงพอ และง่ายต่อการควบคุมคุณภาพทั้งหมดในการออกแบบขั้นตอนท้ายสุด
Triangle Antal 202 ตอบสนองความถี่ตลอดย่านออดิโอ 50-20,000 เฮิร์ตซ (+/- 3 ดีบี เฮิร์ตซ-กิโลเฮิร์ตซ) รับกำลังขับต่อเนื่องได้ถึง 120 วัตต์และ 240 วัตต์สำหรับกำลังสวิง ความต้านทานปกติที่ 8 โอห์ม มีความไว้ที่ 91 ดีบี แบ่งจุดตัดความถี่ไว้สองจุดคือโรลล์ออฟย่านต่ำที่ 800 เฮิร์ตซ และตัดย่านสูงไว้ที่ 5 กิโลเฮิร์ตซ
Triangle Antal 202 จัดจำหน่ายโดยบริษัท ออดิโอคอมกรุ๊ป จำกัด
ราคา 75,000 บาทต่อคู่ (เมษายน 2545)

               ประวัติและวิวัฒนาการของเครื่องถ่ายเอกสาร (Copying Machine) 

       เครื่องถ่ายเอกสาร (copying Machine) วิวัฒนาการมาจากกล้องถ่ายภาพ 
ซึ่งผู้คิดค้นได้พยายามรบรวมขั้นตอนวิธีการถ่ายภาพมาดัดแปลงให้มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน
ในระยะแรก ๆ เครื่องถ่ายเอกสารจะมีลักษณะเป็นเครื่องทำสำเนาเอกสารขนาดเล็ก 
เรียกว่า Photocopy หรือ Photostat ถ่ายสำเนาได้ครั้งล่ะ 1 แผ่น เป็นระบบ Dual Spectrum 
และเป็นชนิดเติมน้ำยา วิธีการใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก และใช้ถ่ายรูปทุกประการ 
โดยต้อนฉบับแต่ละแผ่นจะถ่ายสำเนาได้ครั้งละ 1 แผ่นเท่านั้น นอกจากนี้ 
จะต้องใช้กระดาษเครื่องผ่านแสงไฟเพื่อให้ภาพ Negative นำเข้าเครื่องผ่านน้ำยาอีกครั้งหนึ่ง
จึงลอกแผ่น Negative ออก ก็จะได้เอกสารที่ถ่ายสำเนาออกมา อย่างไรก็ตาม 
เครื่องถ่ายเอกสารแบบ Dual Spectrum นี้ประสิทธิภาพในการถ่ายสำเนาเอกสารไม่คมชัดนัก 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 นักกฎหมายชาวอเมริกันชื่อ Chester Carlson 
ได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องถ่ายเอกสารจนสำเร็จ สามารถถ่ายเอกสารได้ครั้งละหลาย ๆ แผ่น 
โดยนำระบบ Copyflo มาใช้งาน ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสาร
ชนิดเติมน้ำยานี้ไม่ได้รับความนิยม และไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว 
   
       ปัจจบันเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงานโดยทั่วไป เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ 
(Electrostatic Copying Machine) เป็นชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ชนิดเดียวเท่านั้น 
สำเนาภาพที่ได้จากเครื่องถ่ายเอกสารด้วยผงหมึกนี้ภาพจะคมชัดและแห้งสนิท 
       ต้นทุนการผลิตชิ้นงานค่อนข้างต่ำแต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง  สามารถถ่ายเอกสารได้เป็น
จำนวนมาก โดยใช้มือหรือจะใช้ถาดป้อนกระดาษก็ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  และยังสามารถ
แทรกงานด่วนในขณะถ่ายเอกสารอื่นอยู่ได้ มีทั้งระบบย่อ  ขยายและซูมภาพได้  นอกจากนี้ยังมี
เครื่องถ่ายเอกสารที่กลับหน้าเองอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้
กับระบบกระดาษธรรมดาแต่ใช้ผงหมึกแบบแมกนิไฟน์โฟรเซส ที่ให้ความละเอียดแก่สำเนาที่
ถ่ายเอกสารมากกว่า คุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนา
ระบบการทำงานของเครื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้
 เป็นคุณสมบัติที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละ
 
ประเภทของเครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (Computer printer) คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
  1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
  2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม


 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)
 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก
 

พล็อตเตอร์ (Plotter)
พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาใน การเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

 
 อ้างอิง : http://www.audio-teams.com/aureview/speaker/TriangleAntal202/1.shtml
             http://sara-deed.blogspot.com/2011/08/led.html
             http://www.qghservice.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1277213

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ
advertisements
อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard)แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ
-  แป้นอักขระ (Character Keys)
-  แป้นควบคุม (Control Keys)
-  แป้นฟังก์ชัน (Function Keys)
-  แป้นตัวเลข (Numeric Keys)













อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball)
 แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
 
 


จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)



ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
 



อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
 



อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)